วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2561

Learning Log 5

Learning Log 5

Wednesday 19th  September  2018

✦ วันนี้อาจารย์ได้ทบทวนการทำ Blogger ของแต่ละคนและการเพิ่มข้อมูลองค์ประกอบต่างๆให้ครบ


ต่อมาอาจารย์ให้จับกลุ่ม และแจกใบความรู้บ้านวิทยศาสตร์น้อยคนละ1กิจกรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมการทดลองต่างๆที่จะสอนวิทยาศาสตร์แก่เด็กได้

การทดลองเรื่อง ไฟฟ้า    ปรากฏการณ์  ไฟฟ้าสถิต 
เรื่อง การแยกเกลือและพริกไทย
     ปรากฏการณ์หลายอย่างในชีวิตประจำวันของเรานั้นมีสาเหตุมาจากไฟฟ้าสถิต ไฟฟ้าสถิตมีประโยชน์กับเรา เช่น ถ้าเกลือกับพริกไทยผสมกันอยู่ เราจะแยกสารทั้งสองชนิดนี้ออกจากกันได้อย่างไร? จึงทำการทดลองสร้างไฟฟ้าสถิตให้เกิดขึ้นบนวัสดุที่เป็นพลาสติก และใช้ไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้น แยกเกลือและพริกไทยออกจากกัน 
🔷 วัสดุ/อุปกรณ์ 
(สำหรับกรทดลองรวม)
-ผ้าขนสัตว์ (ผ้าพันคอ หมวก ถุงมือ ถุงเท้า ฯลฯ)
 -เกลือเม็ด ขนาดปานกลาง
-พริกไทยป่น
(สำหรับเด็กแต่ละคน)
-ชามใบเล็ก
-วัสดุสังเคราะห์
-วัสดุอื่นๆ เช่น หวี ลูกโป่ง ไม้แขวนเสื้อพลาสติก ไม้บรรทัด
🔷 การทดลอง 
     ผสมเกลือและพริกไทยลงในถ้วยใบเล็ก ถูช้อนพลาสติกด้วยผ้าขนสัตว์และถทอช้อนไว้เหนือส่วนผสมของพริกไทยและเกลือ อย่าถือช้อนไว้ใกล้กับส่วนผสมมากเกินไป เมื่อช้อนดูดพริกไทยแล้ว เราก็แยกเม็กพริกไทยออกจากช้อนโดยใช้มือลูบเม็ดพริกไทยใส่ในถ้วยอีกใบ ถ้าถือช้อนไว้ใกล้ส่วนผสมมากเกินไปเกล็ดของเกลือที่ใหญ่กว่าจะสามารถเอาชนะแรงดึงดูดของโลกและเกาะติดช้อนได้ หลังจากนั้นเกล็ดเกลือจะหลุดจากช้อนเอง 


   โดยให้นำกิจกรรมที่แต่ละคนได้ไปเตรียมมานำเสนอในสัปดาห์หน้า โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือ
✐  ขั้นที่ 1 กำหนดสิ่งที่ต้องการศึกษา
✐  ขั้นที่ 2 กำหนดปัญหาหรือวัตถุประสงค์
✐  ขั้นที่ 3 กำหนดหลักการหรือกฎเกณฑ์
✐  ขั้นที่ 4 พิจารณาแยกแยะ
✐  ขั้นที่ 5 สรุปคำตอบ
ขอบข่ายกระบวนการวิทย์ 
1.ประเด็นปัญหา
2.ตั้งสมมติฐาน
3.ทดลองโดยใช้ทักษะวิทยาศาสตร์
4.สรุปและตรวจสอบ
5.อภิปรายผล


หลังจากนั้นอาจารย์ให้ประเด็นมา1 ประเด็นคือ ถ้าเราจะทำของเล่นให้เด็ก โดยใช้วัสดุเหลือใช้ คือ ฝาขวดน้ำ ทำขอเล่นจากสิ่งที่มีอยู่คือมีในชั้นเรียนหาอุปกรณ์จากในชั้นเรียนมาประดิษฐ์ของเล่นต่างๆ 


⏰ Assessment 

Self-Assessment : วันนี้เนื้อหาที่เรียนค่อนข้างเข้มข้น ทำให้มีมึนและงงบ้างแต่ก็พยายามใส่ใจงานต่างๆค่ะ
Member Assessment : เพื่อนๆมุ่งมั่นตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆ
Teacher Assessment : อาจารย์คอยกระตุ้นให้นักศึกษาคิดและแสดงความคิดเห็น ตอบโต้อยู่ตลอดเวลา


Video Science Provision for Early Childhood

Video Science Provision for Early Childhood


Name of  Video  : สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย 

Conclusion  : ในวิดีโอได้มีการนำเสนอสื่อการทดลองวิทยาศาสตร์ของ คุณครูกรรณิการ์ เฉิน เพื่อเป็นเทคนิคในการพัฒนาการของเด็กปฐมวัยโดยใช้วัสดุรอบตัว โดยใช้น้ำตาลก้อนหยดสีลงไปแล้วดูการเปลี่ยนแปลง, การใช้กระดาษทิชชูอธิบายความลับของสีดำซึ่งมีสีอื่นๆ ซ่อนอยู่มากมาย หรือการอธิบายเรื่องแรงตึงของผิวน้ำโดยใช้อุปกรณ์ง่ายๆ ที่อยู่รอบตัวในการอธิบายให้เห็นภาพ และเข้าใจได้ง่ายๆ

Reference :  www.thaiteachers.tv




Article Science Provision for Early Childhood

Article Science Provision for Early Childhood


Name of  article  :  เงา...มหัศจรรย์ต่อสมอง

Conclusion :  เรื่องราวของ เงา เกี่ยวข้องกับการทำงานของแสง  เด็กๆหรือแม้แต่ผู้ใหญ่หลายๆ คนก็ต้องอึ้งไปเหมือนกัน  เวลาจะอธิบายว่า เงาเกิดขึ้นได้อย่างไร  ตอนเด็กๆ จำได้ว่าอยากได้คำอธิบายมากว่า ทำไมเงามีรูปร่างเหมือนวัตถุที่ทำให้เกิดเงา  จนมีการทดลองเรื่องแสงส่องผ่านอะไรได้บ้าง  จึงเกิดความคิดรวบยอด และสรุปได้ว่าเงาคือส่วนที่มืดซึ่งเกิดจาการมีวัตถุไปขวางกั้นแสง ทำให้มองเห็นเป็นรูปร่างของวัตถุนั้น  ต่อมาเมื่อเรียนฝึกหัดครูปฐมวัยได้เรียนเรื่องการเล่านิทานโดยใช้เงามือ ก็ยิ่งคิดว่าเงาเป็นสิ่งมหัศจรรย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วยให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมาย 



      เด็กๆ เรียนรู้อะไรจากเงา ?

 วิทยาศาสตร์ ความรู้พื้นฐานเรื่องแสง และทักษะการสังเกตรูปร่างของเงาที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะทักษะการสืบค้นและหาข้อสรุป
 คณิตศาสตร์  ความรู้พื้นฐานเรื่อง รูปทรง  ขนาด  จำนวน  มิติสัมพันธ์ และการวัด เช่น การวัดเงาส่วนสูงของตนเองและเพื่อนๆ
  ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ :  จากการคิดสร้างเงารูปแปลกๆ คิดสร้างเรื่องหรือสิ่งใหม่ๆ     
  ภาษาและการสื่อสาร : ได้จากการแต่งเป็นนิทานและคำคล้องจอง


                เรียกว่าการเรียนรู้เหล่านี้มาจากการทำงานของสมองล้วนๆ ขณะที่เล่นกับเงาสมองของลูกทำงานอย่างดีเลยทีเดียว

Reference :  www.familyweekend.co.th







Research Science Provision for Early Childhood

Research Science Provision for Early Childhood


Name of  research  :  ทักษะการสังเกตและเปรียบเทียบของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสี

Conclusion :

ชื่องานวิจัย : ทักษะการสังเกตและเปรียบเทียบของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยกรย้อมสี
ผู้วิจัย : พรทิพย์   เกนโรจน์ 
การศึกษาระดับ : ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ปีการศึกษา : 2553

Reference :  http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ear_Chi_Ed/Porntip_K.pdf

สรุปวิจัย :   การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการย้อมสี เป็นการจัดกิจกรรมที่แปลกใหม่และเป็นวิธีการสอนอีกรูปแบบหนึ่งที่สนองความต้องการ ความสนใจของเด็กเข้ามาอยู่ด้วยกัน โดยอาจจะผสมผสานเอาเทคนิคและกระบวนการหลายๆอย่างรวมไว้ด้วยกัน นอกจากจะเป็นการพัฒนาทักษะพื้นฐานกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กแล้ว และยังเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ค้นคว้าหาคำตอบด้วยตัวเองอย่างอิสระ สามารถพัฒนาทักษะการสังเกตและการเปรียบเทียบให้สูงขึ้นได้