วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2561

Learning Log 4

Learning Log 4

Wednesday 29nd  August  2018

วันนี้อาจารย์ได้พูดคุยสนทนาเกี่ยวกับการทำกิจกรรมของแต่ละฐานที่จะไปจัดกิจกรรมที่เขาดิน   หาหัวข้อที่เด็กต้องเรียนรู้ ดึงสวนสัตว์มาเป็นประเด็นการศึกษา เพื่อแลกเปลี่ยนกับเพื่อนกลุ่มอื่นๆ เพราะกิจกรรมที่เพื่อนๆได้เสนอเราสามารถนำไปใช้ในอาคตได้ทุกกิจกรรมเลย ซึ่งในแต่ละฐานกิจกรรม ได้แก่
➨ ฐานที่ 1  กิจกรรมอย่าลืมเล่าสู่กันฟัง
➨ ฐานที่ 2  กิจกรรมผจญภัยอะไรเอ่ย
➨ ฐานที่ 3  กิจกรรมรอยเท่าของใครเอ่ย/ตามล่าหารอยเท้า
➨ ฐานที่ 4  กิจกรรมต่อเติมภาพ
➨ ฐานที่ 5 กิจกรรมเกมการทดลอง

อาจารย์สนทนากับนักศึกษาเกี่ยวกับ การจัดประสบการณ์ วิทยาศาสตร์และเด็กปฐมวัย พัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็ก นักทฤษฎีต่างๆที่ได้เกี่ยวข้องและสำคัญกับแต่ละด้าน

⇨  เมื่อไหร่ก็ตามที่เด็กรับรู้แล้วนำมาใช้หรือมาแสดง เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเด็กเกิดการเรียนรู้ เด็กมีวิธีการเรียนรู้ คือ การเล่น โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำกับวัตถุและเลือกตัดสินใจด้วยตนเอง

✎ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

✧ เด็กปฐมวัย 
  ❀  วัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น
  ❀  วัยที่มีพัฒนาการของสมองมากที่สุดของชีวิต
  ❀  แสวงหาความรู้สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบรอบตัว สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง จากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว

 ✧ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  
      เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผลแสวงหาความรู้สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมร้อมรอบตัว

1. ความหมายทักษะการสังเกต
     ทักษะการสังเกต  หมายถึง  การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันได้แก่ตาหูจมูกลิ้นและ ผิวกายเข้าไปสัมผัส  โดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์โดยมีจุดประสงค์ ที่จะหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้นๆ
- การสังเกตรูปร่างลักษณะและคุณสมบัติทั่วไป
- การสังเกตควบคู่กับการวัดเพื่อทราบปริมาณ
- การสังเกตเพื่อรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง

2. ความหมายทักษะการจำแนกประเภท 
    ทักษะการจำแนกประเภท  หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเอง
- ความเหมือน
- ความแตกต่าง
- ความสัมพันธ์ร่วม

3. ความหมายทักษะการวัด
     ทักษะการวัด  หมายถึง  การใช้เครื่องมือต่างๆวัดหาปริมาณของสิ่งที่เราต้องการ ทราบได้อย่างถูกต้องโดยมีหน่วยการวัดกำกับ
- รู้จักกับสิ่งของที่จะวัด
- การเลือกเครื่องมือที่นำมาใช้วัด
- วิธีการที่เราจะวัด

4. ความหมายทักษะการสื่อความหมาย
     ทักษะการสื่อความหมาย  หมายถึง  การพูดการเขียนรูปภาพและภาษาท่าทางการแสดงสีหน้าความสามารถรับข้อมูลได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
- บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุ
- บันทึกการเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้
- บอกความสัมพันธ์ของ ข้อมูลที่ได้จัดกระทำ
- จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบต่างๆ

5. ความหมายทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
     ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล  หมายถึง การเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่ อย่างมีเหตุผลโดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์
- ลงข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ
- ลงข้อสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ
- การสังเกตเพื่อรู้ถึงการเปลี่ยนแปลง

6. ความหมายทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
     ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา หมายถึง การรู้จักเรียนรู้ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติการเขียนภาพ 2 มิติถ่ายรูป 3 มิติการบอกทิศทางการบอกเงา ที่เกิดจากภาพ 3 มิติการเห็นและเข้าใจภาพที่เกิดบนกระจกเงาการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลาสำหรับเด็กปฐมวัย
- ชี้ภาพสองมิติและสามมิติ
- บอกความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางของวัตถุ
- บอกตำแหน่งหรือทิศทางของวัตถุ
- บอกตำแหน่งซ้ายหรือขวาของผ้าที่เกิดจากการวางวัตถุไว้หน้ากระจกเงา

7. ความหมายทักษะการคำนวณ
     ทักษะการคํานวณ  หมายถึง ความสามารถในการนับจำนวนบวกลบคูณหารจำนวนของวัตถุ การนำจำนวนตัวเลขมากำหนดบอกลักษณะต่างๆ เช่นความกว้างความยาวความสูงพื้นที่ปริมาตรน้ำหนัก
- การนับจำนวนของวัตถุ
- การบวกลบคูณหาร
- การนำจำนวนตัวเลขมากำหนด หรือบอกลักษณะต่างๆของวัตถุ

✧ ทำไมจะต้องสอนวิทยาศาสตร์  ? 
 ❀  มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย
 ❀  หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560
 ❀  ความจำเป็นที่จะต้องนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย

❀  มาตรฐานด้านผู้เรียน
                  ⇩
มาตรฐาน ..... มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์มีวิจารณญาณและมีความคิดสร้างสรรค์

สมองกับวิทยาศาสตร์
 ❀  ตีความข้อมูลที่ได้รับเพื่อทำความเข้าใจ
 ❀  หาสาเหตุเชื่อมโยงสิ่งที่คิดขึ้นเพื่อสืบค้นความจริง
 ❀  ประเมินคุณค่าของสิ่งต่างๆเพื่อการตัดสินใจ
 ❀  จำแนกองค์ประกอบเพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งหมดของเรื่องนั้น

คุณสมบัติบุคคลที่เอื้อต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
 ❀  ความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะวิเคราะห์
 ❀  ช่างสังเกตทั้งสองฝ่ายช่างไก่ถามคำถามพี่มาใช้  5 W 1 H
 ❀  ความสามารถในการลงความเห็น
 ❀  ความสามารถในการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล

องค์ประกอบของการคิดทางวิทยาศาสตร์
1. สิ่งที่กำหนดให้  เป็นสิ่งสำเร็จรูปที่กำหนดให้สังเกต/จำแนก/วัด/สื่อความหมาย/ลงความเห็น/หาความสัมพันธ์/การคำนวณ  เช่น  วัตถุสิ่งของเรื่องราวเหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ต่างๆ
2. หลักการหรือกฎเกณฑ์ เป็นข้อกำหนดสำหรับใช้แยกส่วนประกอบของสิ่งที่กำหนดให้ เช่น
- เกณฑ์จำแนกสิ่งที่เหมือนกันหรือแตกต่างกัน
-  เกณฑ์ในการหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลลักษณะความสัมพันธ์คล้ายคลึงกันหรือขัดแย้งกัน
3. การค้นหาความจริงหรือความสำคัญ  เป็นการพิจารณาส่วนประกอบของสิ่งที่กำหนดให้  ตามหลักเกณฑ์เเล้วทำการรวบรวมประเด็นที่สำคัญเพื่อหาข้อสรุป

ความสามารถในการลงความเห็นจากข้อมูล(คำถาม) สามารถค้นหาคำตอบได้ เช่น
✐ อะไรเป็นสาเหตุให้เกิดฝนตก
✐ อะไรที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตของต้นถั่วเกี่ยวข้องอย่างไร
✐ มีแนวทางแก้ปัญหาในการทดลองอย่างไรบ้าง
✐ มีองค์ประกอบใดบ้างที่นำไปสู่การย้อมสีใบไม้ให้สวย
✐ ลำดับเหตุการณ์นี้ดูว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร

กระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์
✐  ขั้นที่ 1 กำหนดสิ่งที่ต้องการศึกษา
✐  ขั้นที่ 2 กำหนดปัญหาหรือวัตถุประสงค์
✐  ขั้นที่ 3 กำหนดหลักการหรือกฎเกณฑ์
✐  ขั้นที่ 4 พิจารณาแยกแยะ
✐  ขั้นที่ 5 สรุปคำตอบ

เทคนิคการคิดวิเคราะห์5 W 1 H



⏰ Assessment 

Self-Assessment :  ตั้งใจตอบคำถามเมื่ออาจารย์ให้เสนอความคิดเห็นต่างๆ มีคุยกับเพื่อนบ้างเล็กน้อย
Member Assessment : เพื่อนๆช่วยกันตอบคำถามประเด็นต่างๆ ช่วยกันเสนอความคิดเห็น
Teacher Assessment อาจารย์มีวิธีสอนที่ค่อยข้างไม่จำเจกับเนื้อหาจนเกินไป เนื่องจากวันนี้เรียนเนื้อหาเยอะแต่อาจารย์ก็ให้พ่อนคลายบ้างและทำให้บรรยากาศในห้องเรียนสนุก ไม่ตรึงเครียดจนเกินไป 











วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2561

Learning Log 3

Learning Log 3

Wednesday 22nd  August  2018


วันนี้อาจารย์ได้ให้มาเรียนที่ห้องสมุด และได้มอบหมายงานโดยแต่ละกลุ่มช่วยกันคิดกิจกรรมสิ่งที่เด็กควรจะเรียนรู้เมื่อเราจะพาเด็กไปทำกิจกรรมที่สวนสัตว์ดุสิต (เขาดิน)
✩ เด็กจะต้องรู้อะไรเมื่อไปเขาดิน และสามารถทำกิจกรรมอะไรได้บ้าง 
    - ทักษะวิทยาศาสตร์
    - คณิตศาสตร์  ดูจากมาตรฐานคณิตศาสตร์ เช่น ทิศทาง รูปทรง จำนวน การแบ่งประเภท การจัดหมวดหมู่ สถิติคนที่เข้ามาเที่ยวชมสวนสัตว์ในแต่ละวัน
    - ภาษา ฟัง พูด อ่าน เขียน เช่น ปริศนาคำทาย เกมทายภาพ การสร้างนิทาน(เพลงที่เกี่ยวข้อง) คำคล้องจอง การสร้างชิ้นงาน







ชื่อฐานของกลุ่มดิฉัน


ชื่อฐาน :  อย่าลืมเล่าสู่กันฟัง


วัตถุประสงค์
1.  ด้านร่างกาย :  เพื่อให้เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กในการทำกิจกรรม
2.  ด้านอารมณ์ – จิตใจ :  เพื่อให้เด็กได้รับความสนุกสนานในการทำกิจกรรม
3.  ด้านสังคม :  เพื่อให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นขณะทำกิจกรรม
4.  ด้านสติปัญญา :  เพื่อเสริมสร้างจินตนาการในการเรียนรู้ให้แก่เด็ก

วัสดุ อุปกรณ์
            1.  กระดาษ A4
            2.  สีเทียน
            3.  ดินสอ

วิธีการจัดกิจกรรม
            1. หลังจากเด็กได้ทัศนศึกษาสวนสัตว์ดุสิตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แบ่งเด็ก เป็น 5 กลุ่ม เพื่อทำกิจกรรมเข้าฐาน                               
2.  เริ่มพูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับการทัศนศึกษาวันนี้
3.  ชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดของกิจกรรมอย่าลืมเล่าสู่กันฟัง            
4.  เด็กเริ่มลงมือทำ กิจกรรมอย่าลืมเล่าสู่กันฟัง    
5.  ให้เด็กออกมายืนเรียงแถวหน้ากระดาน และเล่าเรื่องต่อกันโดยเริ่มจากคนแรกจนถึงคนสุดท้าย
               


⏰ Assessment 

Self-Assessment : ตั้งใจฟังที่อาจารย์ชี้แจงและร่วมมือทำงานกับเพื่อนๆ
Member Assessment : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำงานต่างๆ
Teacher Assessment : อาจารย์ให้คำปรึกษา เมื่อไม่เข้าใจหรือมีข้อสงสัยต่างๆ





วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2561

Learning Log 2

Learning Log 2

Wednesday 15th August  2018


✦  วันนี้อาจารย์ได้ตั้งคำถามก่อนการเข้าสู่บทเรียนว่า ทำไมเราจึงต้องเรียนรู้ ? เพื่อนๆในห้องเรียนต่างช่วยกันตอบคำถามและได้คำตอบเป็นผลสรุปรวมกันว่า "เรียนรู้เพื่อความอยู่รอด"
✦  ต่อมาอาจารย์ได้นักศึกษาในห้องร่วมกันตั้งประเด็นการศึกษาเมื่อจะสอนเด็กเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์จะพาไปสถานที่ใดที่เด็กจะได้ความรู้มาก ดิฉันและเพื่อนๆในห้องก็ได้ตกลงกันและได้เสนอสถานที่แก่อาจารย์คือ สวนสัตว์ดุสิต (เขาดิน) เพราะเป็นสถานที่มีพื้นที่เยอะ และมีความสมดุลในธรรมชาติหลากหลาย
✦  อาจารย์ได้ให้แบ่งกลุ่มเพื่อร่วมกันแยกประเด็นที่จะศึกษาจากหัวข้อที่ได้เลือกกัน คือ สวนสัตว์ดุสิต (เขาดิน) องค์ประกอบของเขาดินก็แตกได้ ดังนี้ สัตว์ พืช ประวัติความเป็นมา ที่ตั้ง  บุคคลที่เกี่ยวข้อง สถานที่ต่างๆ  กิจกรรม,การแสดงต่างๆ อาหารของสัตว์,อาหารสำหรับบริการคนที่มาท่องเที่ยว

สิ่งที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ในสถานที่ที่เราจะศึกษา (เขาดิน) ซึ่งจะส่วนมากจะเป็นวิทยาศาสตร์ชีวภาพ 
✩ ของเล่น สไลเดอร์ ➡ จากที่สูงลงมาที่ต่ำตามแรงโน้มถ่วงของธรรมชาติ
✩ พรรณไม้ พืช  ➡ เป็นระบบนิเวช สิ่งมีชีวิตที่หลากหลายสายพันธุ์
✩ สิ่งมีชีวิตมีการขยายพันธุ์
✩ สิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในแต่ละประเภท แต่ละประเภทมีลักษณะแตกต่างกัน
✩ วัฎจักรของสัตว์ ➡ สัตว์แต่ละชนิดอาจมีที่อยู่อาศัยเหมือนหรือแตกต่างกัน
✩ การทำความสะอาดที่อยู่ ➡ เพื่อเก็บมูลสัตว์มาใช้เป็นปุ๋ย,ความสะอาดกรงสัตว์ ให้ปลอดภัย ไม่ติดเชื้อ
✩ กังหันน้ำ
✩ การดอง การเก็บรักษา
✩ ฤดูการผสมพันธุ์ ➡ การวางไข่
✩ การให้อาหารสัตว์ แต่ละประเภทซึ่งอาจเหมือนหรือแตกต่างกัน
✩ การแยกขยะ ➡ ทำให้อาหารของสัตว์แต่ละประเภทซึ่งอาจเหมือนหรือแตกต่างกัน
✩ เสียงร้องของสัตว์ ➡ เป็นลักษณะของสัตว์แต่ละประเภท
✩ สายพันธุ์ของสัตว์ ➡ เกิดจากธรรมชาติหรือการผสมพันธุ์ที่ถูกทำวิทยาศาสตร์กายภาพ

✦  ต่อมาอาจารย์ได้ให้ตั้งประเด็น ดังนี้
1.เด็กสังเกตดูลักษณะสัตว์ ➡ นำกระดาษให้เด็กวาดรูป เป็น เครื่องมือของเด็ก เพื่อบันทึกความทรงจำ เช่น ให้วาดรูประบายสี แต่ครูสามารถช่วยบันทึกให้เด็กได้
ตัวอย่าง :  นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 
ซักถามเด็กว่า "ถ้าเราจะไปเขาดิน เราจะอยากรู้เรื่องอะไร"
ระดมความคิดของเพื่อนๆในห้องเรียนจึงได้คำถามว่า
- การดูแลสิงโตมีวิธีการอย่างไร ?
- วิธีฝึกแมวน้ำในการโชว์อย่างไร ?
- เขาดินมีวิธีการขนส่งสัตว์ใหญ่ๆอย่างไร ?
- เวลาสัตว์ป่วยทำอย่างไร ?
- สัตว์บางชนิดหายาก มีวิธีการอย่างไรในการขยายพันธุ์ ?

👀  "ทักษะการสังเกต" เป็นทักษะทางวิทยาศาสตร์ในการเก็บข้อมูลต่างๆของเด็ก  👀

✦  สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับตัวเด็ก สิ่งแรกคือพัฒนาการของเด็กตามวัย เป็นความสามารถในแต่ละช่วงวัย ที่เปลี่ยนแปลงไปตามระดับ ขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะจัดประสบการณ์ให้ตรงกับพัฒนาการเด็ก ทำให้เด็กได้รับข้อมูลที่ตรงกับ วิธีการเรียนรู้   คือการที่เด็กได้ลงมือทำปฏิบัติด้วยตนเองผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 มีโอกาสเลือกและตัดสินใจด้วยตนเอง ตรงกับการทำงานของสมอง

✦  อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มทำแผนผังความคิดให้หัวข้อ "เขาดิน"




แผนผังความคิดของกลุ่มดิฉัน



แผนผังความคิดของเพื่อนๆในชั้นเรียน


อาจารย์ให้คำแนะนำส่วนที่ต้องแก้ไขและปรับปรุงของแต่ละกลุ่ม


✦  คำศัพท์ภาษาอังกฤษ  
1. The zoo   =   สวนสัตว์
2. Animal   =   สัตว์
3. flower   =   ดอกไม้
4. environment   =   สิ่งแวดล้อม
5. energy  =  พลังงาน 
6. slider  สไลเดอร์
7. park  =   สวน
8. activity  =   กิจกรรม
9. lion  =   สิงโต
10. place   =   สถานที่ 

⏰ Assessment 

Self-Assessment : ตั้งใจฟังที่อาจารย์แนะนำและนำไปปรับปรุงสิ่งที่ต้องแก้ไขต่างๆ มีส่วนร่วม/ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมทั้งในกลุ่มตนเองและในห้อง 
Member Assessment : เพื่อนๆตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียนและ ร่วมมือกับตอบคำถาม มีการแสดงความคิดเห็นต่างๆ 
Teacher Assessment : อาจารย์พยายามตั้งคำถามเพื่อให้นักศึกษาหาคำตอบและคิดได้ด้วยตนเอง และคอยให้คำแนะนำเมื่อมีข้อผิดพลาดและให้แก้ไขเสมอ 





วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2561

Learning Log 1

Learning Log 1

Wednesday 8th August  2018


✦ วันนี้เป็นคาบแรกสำหรับการเรียนการสอนในรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ได้ชี้แจงข้อตกลงต่างๆเช่นเดิม และมีการถามความคิดเห็นนักศึกษา ต่อมาอาจารย์ได้มอบหมายงาน คือ ให้สร้างบล็อคเพื่อบักทึกการเรียนในแต่ละสัปดาห์โดยมีองค์ประกอบแบบเดิม แต่ใช้เนื้อหาที่แนะนำเป็นภาษาอังกฤษ และมอบหมายงานอีกหนึ่งชิ้นคือ หาหนังสือเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับเด็ก หรือการสอนเด็กต่างๆ ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง เลขที่หมวดหนังสือ และเนื้อหาต่างๆในหนังสือที่ได้ศึกษา



✦ ศึกษาแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน
    สถานที่ : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยี และห้องสมุดคณะศึกษาศาสตร์
    ✧ ดิฉันและเพื่อนๆได้มาค้นคว้าหาข้อมูลที่ชั้น 4 เพื่อหาหนังสือที่หมวดวิทยาศาสตร์แต่ก็ยังไม่เจอหนังสือที่ต้องการ จึงได้ไปสร้างบล็อคที่อาจารย์ได้มอบหมายงานไว้ก่อนที่ห้องคอมพิวเตอร์ชั้น 6 และยังพอมีเวลาเหลือดิฉันจึงได้ไปหาหนังสือต่อที่ห้องสมุดคณะศึกษาศาสตร์ชั้น 4 ต่อ


 

บรรยากาศห้องสมุดและเพื่อนกำลังสร้างบล็อค


หนังสือวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับเด็ก


ชื่อเรื่อง :  โครงงานวิทย์ปฐมวัย Play & Learn 50 กิจกรรมสนุกและง่ายสำหรับเด็กอนุบาล
ผู้เขียน  :  Janice  VanCleave
ภาพประกอบ :  Michele  Nidenoff
ผู้แปล :  นุชนาฎ  เนตรประเสริฐศรี


⏰ Assessment 

Self-Assessment : รู้จักบริหารเวลาแบ่งเวลาในการทำงาน ตั้งใจค้นคว้าหาข้อมูลต่างๆ 
Member Assessment : เพื่อนๆกระตือรือร้นในการทำงานหาข้อมูลต่างๆ
Teacher Assessment : อาจารย์ชี้แจงรายละเอียดต่างๆ และได้มีการถามไถ่นักศึกษา










Couse Syllabus Science Provision for Early Childhood



กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

รายวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


click