วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561

Educational Innovation

การพัฒนานวัตกรรม The kids show with magnetic theatre

       การพัฒนานวัตกรรมในครั้งนี้ได้แก่ รายวิชาการศึกษาปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาล ปีที่ 3 สาระการเรียนรู้ที่ 4 สิ่งต่างๆรอบตัว  มาตรฐานการเรียนรู้ที่ 10 มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ ตัวชี้วัดที่ 10.1 มีความสามารถในการคิดรวบยอด
จุดประสงค์การเรียนรู้ได้แก่
1)ผู้เรียนสามารถประสานสัมพันธ์มือกับตาในการทำกิจกรรมได้อย่างคล่องแคล่ว
2)ผู้เรียนสามารถเล่าเรื่องราวได้อย่างต่อเนื่องและแสดงอารมณ์ ความรู้สึกได้สอดคล้องกับสถานการณ์อย่างเหมาะสม
3)ผู้เรียนสามารถเล่นและทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนอย่างมีเป้าหมาย
4)ผู้เรียนสามารถบอกลักษณะ คุณสมบัติและการนำแม่เหล็กมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
         
         ขอบข่ายของเนื้อหาที่จะนำมาใช้ในการพัฒนานวัตกรรมในครั้งนี้ประกอบด้วยลักษณะ คือบอก รูปทรงต่างๆของแม่เหล็ก เช่น กลม สี่เหลี่ยม และเกือกม้า คุณสมบัติของแม่เหล็ก ซึ่งแม่เหล็กจะมีแรงดึงดูดสิ่งของที่เป็นเหล็กได้ และไม่ดูดสิ่งที่ไม่ใช่เหล็ก ได้แก่ ผ้า กระดาษ  พลาสติก ไม้ ยาง แม่เหล็ก 2 อัน จะมีทั้งการดูดและการผลักกัน ประโยชน์ของแม่เหล็กมีมากมาย เช่น ใช้เป็นส่วนประกอบของประตู ตู้ กระเป๋า กล่องใส่ดินสอ เข็มทิศ  

นวัตกรรมที่ทำการออกแบบ
- โรงละคร
- รถถัง
- ชาร์ตให้ความรู้

ขั้นตอนการพัฒนา
การประกอบโรงละคร
- นำไม้กระดานมาประกอบเป็นกล่องรูปทรงสี่เหลี่ยม


- ประสานงานกับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปกรรมเพื่อทำฐานตั้งโรงละคร

      
- ตกแต่งทำองค์ประกอบต่างๆของโรงละคร

ทาสีดำโรงละครและใช้สเปรย์สีดำพ่นทั่วฐานตั้งโรงละคร
      
นำผ้าสักหลาดมาเย็บเพื่อประกอบเป็นผ้าม่านของโรงละคร

- ต่อวงจรสวิตช์ไฟฟ้า


- ปริ้นท์ภาพตัวละคร ตัวละ 2 ภาพ ต่อมานำใยสังเคราะห์มาใส่ตรงกลางของตัวละครจากนั้นใช้จุกเสียบลูกโป่งเป็นฐานและติดแม่เหล็กไว้ใต้ฐาน
     

- ปริ้นท์ภาพฉากมาติดกับกระดาษชานอ้อยเพื่อความแข็งแรง


ประดิษฐ์รถถัง
- นำกระดาษสีเขียวพันรอบแกนกระดาษทิชชู่


- นำหลอดดูดน้ำติดใต้แกนกระดาษทิชชู่ 2 จุด ต่อมานำก้านไม้ลูกโป่งใส่เข้าไปในหลอดและนำจุกเสียบลูกโป่งติดที่ปลายทั้ง 2 ด้านเพื่อเป็นล้อของรถถัง
      
- วาดภาพต่างๆเพื่อตกแต่ง
   

- นำแม่เหล็กมาติดด้านหลังของรถถัง
- นำก้านไม้ลูกโป่ง 3 ชิ้นมาติดกัน ต่อมานำไหมพรมมาพันรอบก้านไม้ลูกโป่งจากนั้นนำภาพดาวที่วาดมาติดที่ปลายของไม้และนำแม่เหล็กมาติดที่ภาพดาวโดยหันขั้วเดียวกันหารถถัง

ชาร์ตให้ความรู้

- หาข้อมูลเกี่ยวกับแม่เหล็ก จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาแยกหัวข้อเป็น mind mapping 
- ปริ้นท์ข้อมูลต่างๆมาตัดและแปะบนกระดาษสี เคลือบและตัดตามขอบ
- นำแผ่นแม่เหล็กมาติดด้านหลัง
- ตัดแผ่นอะลูมิเนียมมาติดกับกระดาษชานอ้อยแบบแข็งจากนั้นนำสติกเกอร์มาติดทับแผ่นอะลูมิเนียม
- นำเทปผ้ามาติดขอบทั้ง 4 ด้าน

การประเมินนวัตกรรม
ผู้เชี่ยวชาญในการประเมิน
          1. อาจารย์ ดร.จินตนา  สุขสำราญ
2. ว่าที่ ร.ต. กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด
          3. อาจารย์ กันต์กนิษฐ์  พรประสิทธิ์


อาจารย์ ดร.จินตนา  สุขสำราญ


ว่าที่ ร.ต. กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด


อาจารย์ กันต์กนิษฐ์  พรประสิทธิ์


ขั้นตอนในการนำนวัตกรรมไปใช้


สรุปผลการใช้นวัตกรรม
จากการทดลองนวัตกรรม The kids show with magnetic theatre พบว่านักเรียนผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ร้อยละ 70 เป็นจำนวน 29 คน คิดเป็น 100 % เต็ม






วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2561

Learning Log 13

Learning Log 13

Wendesday 21ed  November  2018



✦ วันนี้อาจารย์ได้แนะนำ Web site : Biteable  ⇦  click !! 


ต่อมาอาจารย์ได้สอนในเรื่องการเขียนแผนจัดประสบการณ์ เราต้องวิเคราะห์จากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ดูในสาระการเรียนรู้ 
"สิ่งสำคัญ คือ ให้เด็กได้มีประสบการณ์"

"ประสบการณ์"   
→ มีโอกาสทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด 
→ เคยทำ เคยลงปฏิบัติ เด็กได้ลองทำ,ลองเรียนรู้ ➟ การลงมือปฏิบัติผ่านประสาทสัมผัสทั้ง5
การอธิบาย : เพราะมันสอดคล้องกับการทำงานของสมอง เอากระบวนการทำงานของสมองมาอธิบาย พัฒนาการเป็นลำดับขั้น

✦ หลังจากนั้นอาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับการเขียนแผนการจัดประสบการณ์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว การเขียนแผนกิจกรรมเสริมประสบการณ์ควรจะมีเนื้อหาที่เป็นวิชาการ และเนื้อหาวิธีการ ขั้นตอนต่างๆละเอียดชัดเจน

✨ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง "วัด"✨ 


1.ชนิดของวัด 
  ➜ วัดหลวง
  ➜ วัดราษฎร์

2. องค์ประกอบและลักษณะ
  ➜ โบสถ์    ⇨ ลักษณะ    สามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม
                   สี    ขาว,แดง,เหลืองและฟ้า
  ➜ หอระฆัง ⇨ ลักษณะ    สามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม
                     สี   ขาว,แดง,เหลือง,ทองและเขียว
  ➜เจดีย์      ⇨ ลักษณะ    สามเหลี่ยม
                  ⇨ สี    ขาวและทอง
  ➜ กุฏิ        ⇨ ลักษณะ    สามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม
                  ⇨  สี    แดง,เหลืองและน้ำตาล
  ➜ เมรุ        ⇨ ลักษณะ    สามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม
                  ⇨ สี    ขาว,แดง,เหลืองและทอง
   ➜  สี        ⇨ น้ำเงิน
                  ⇨ ขาว
                  ⇨ แดง
                  ⇨ ทอง
  ➜ รูปทรง   ⇨ สี่เหลี่ยมผืนผ้า
                  ⇨ สามเหลี่ยมหน้าจั่ว

3.บุคคลที่เกี่ยวข้อง 
  ➜  พระภิกษุ
  ➜  ภิกษุณี
  ➜  สามเณร
  ➜  มัคทายก
  ➜  เด็กวัด
  ➜  สัปเหร่อ

4.สิ่งที่ควรปฏิบัติ/ข้อควรพึงระวัง   ➜ ควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย
  ➜ สำรวมกาย วาจา ใจ
  ➜ ไม่ส่งเสียงดังในวัด

5.ประโยชน์
  ➜ เทศกาล/วันสำคัญต่างๆ
        -งานวัด  เทศกาลอาหาต่างๆ ⇨ การทำกิจกรรม Cooking 
        -เป็นสถานที่ทำกิจกรรมทางศาสนา
        -งานบวช
        -งานศพ
  ➜ ที่พึงทางใจ


⏰ Assessment 

Self-Assessment : ค่อนข้างไม่ค่อยเข้าใจการเขียนแผน จึงไปถามอาจารย์ และนำมาปรับปรุงแผนการจัดประสบการณ์ของกลุ่มตนเอง
Member Assessment : เพื่อนๆยังมีไม่เข้าใจบ้างเล็กน้อย แต่ก็พยายามค่ะ
Teacher Assessment : อาจารย์เป็นห่วงนักศึกษาเสมอ คอยให้คำแนะนำ แก้ไขจุดที่ผิดพลาดให้งานออกมาดีเสมอค่ะ





Learning Log 12

Learning Log 12

Wendesday 14th  November  2018

✦ วันนี้ดิฉันและเพื่อนๆได้ไปจัดกิจกรรมการจัดประการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยที่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ชุมชุนเสือใหญ่  โดยแบ่งการทำกิจกรรมหมุนเวียนกันเป็นฐาน ฐานละ 15 นาที 

ฐานกิจกรรม Shape of Bub-Bub-Bubble (กลุ่มดิฉัน)





ฐานกิจกรรมเรือดำน้ำ


ฐานกิจกรรมลาวาปะทุ ภูเขาไประเบิด ตู้ม ตู้ม


ฐานกิจกรรมปั๊มขวดและลิปเทียน


ฐานกิจกรรมลูกโป่งพองโต




   
             ก่อนกลับอาจารย์ได้สรุปกิจกรรมกับเด็กๆที่นี้ ได้มีการถามว่า ได้ไปทำกิจกรรมอะไรมาบ้าง แล้วทำอะไรบ้าง เป็นต้น และอาจารย์ยังมีเทคนิคการเก็บเด็ก คือ การร้องเพลงที่น่าสนใจมาก

สิ่งที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม
     การเตรียมความพร้อมเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ เพราะเนื่องจากเราจะต้องจัดกิจกรรมโดต้องห้ามหลุดไปกระบวนการวิทยาศาสตร์เลย เราจึงต้องเตรียมพร้อมคำพูด ขั้นตอน ที่ต้องเน้นย้ำและห้ามลืมในการพูดกับเด็ก  การบริหารเวลา รอบแรกเรายังไม่รู้ว่าการจัดกิจกรรมของกลุ่มเราจะต้องทำยังไวให้เด็กได้ทำกิจกรรมครบทุกคนในเวลาที่จำกัด เราจึงปรับในรอบต่อๆมาคือให้เด็กมาทดลองให้ครบทุกคน ให้ทันเวลา และเมื่อไปลงทำกิจกรรมกับเด็กจริงๆ เจอเด็กที่หลากหลายรูปแบบ มีเชื่อฟังและดื้อซนบ้าง เราจึงต้องใช้เทคนิคการเก็บเด็กมาใช้ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้ากับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น และเมื่อเราตั้งประเด็นคำถามแก่เด็กๆ เราจะได้คำตอบจากที่หลายรูปแบบ เป็นการสร้างประการณ์ใหม่ๆให้กับตัวเราเองด้วย


⏰ Assessment 

Self-Assessment : เตรียมพร้อมไปอย่างดี และสามารถแก้ปํญหาเฉพาะหน้าได้ ร่วมมือทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ 
Member Assessment : เพื่อนๆทำกิจกรรมออกมาได้ด้วยดี 
Teacher Assessment : อาจารย์คอยถามเสมอ และให้เแนะนำ เดินมาดูการทำกิจกรรมบ่อยๆและบอกเสริมเสมอ